วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีการเพาะเห็นถอบ ( เห็ดเผาะ ) ง่ายๆ


เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ เป็นเห็ดที่เกิดในต้นฤดูฝนไม่มีรากเป็นก้อนกลมๆมีสปอร์อยู่ข้างในมีเปลือกแข็งหุ้มสปอร์ไว้นิยมนำมาทำอาหารในช่วงที่อ่อนๆ ปัจจุบันการเพาะเชื้อยังทำไม่ได้แต่มีวิธีการปลูกแบบอาศัยธรรมชาติ ทำได้ปีละครั้ง

อุปกรณ์ในการปลูกเห็ดเผาะ

1.เห็ดเผาะที่แก่จนแห้งแตก
2.ต้นกล้าไม้ที่นิยมคือ ยางนา มะค่า เต็งรัง
3.ถังเล็กๆ


วิธีการปลูกเห็ดเผาะ

1.นำเห็ดเผาะที่แก่จัดมาแกะเอาสปอร์ข้างใน
2.นำสปอร์ไปผสมกับน้ำให้เข้ากันในอัตราส่วนที่เหมาะสม
3.นำไปรดต้นกล้าทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละครั้ง
4.สังเกตุดูต้นกล้าถ้าเริ่มมีเนื้อเยื่อเห็ดเผาะเจริญเติบโตแล้วให้นำไปปลูกได้
5.ปีถัดไปก็จะมีเห็ดเผาะเกิดตามรากไม้ต้นนั้นอย่าพึ่งเก็บเพราะต้นไม้ยังไม่แข็งแรงพอ
6.เมื่อต้นไม้โตพอประมาณให้เริ่มทำการเก็บเห็ดเผาะได้ เห็ดเผาะจะเกิดมาให้เราเก็บที่ต้นไม้ต้นนี้ทุกปี


ต้นมะค่า เป็นพันธุ์ไม้โตเร็ว เหมาะมากสำหรับนำมาปลูกเห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ

( ที่มา : baanna.net )

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตะไคร้สร้างเงินล้าน



ตะไคร้ พืชผักสวนครัวและสมุนไพร ที่มีประโยชน์หลายอย่าง ปัจจุบันความต้องการตะไคร้ของตลาดมากขึ้น เพราะจากการขยายตัวของสังคมเมือง พื้นที่เพาะปลูกน้อยลง คนมากขึ้น รวมถึงความต้องการเชิงพาณิชย์ขยายตัวตามร้านอาหารต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพด้วย BangkokToday.net เลยนำแนวคิดวิธีปลูก-ขาย ให้ได้ราคาสูง มาให้ลองศึกษา

ตลาดและราคา ตะไคร้

ก่อนที่จะทำการปลูกตะไคร้เพื่อขาย ต้องทราบการทำการตลาดหรือพูดง่ายๆเลย จะขายตะไคร้ ยังไง ที่ไหน ช่วงเวลาไหนตะไคร้ราคาดี ซึ่งบางกอกทูเดย์เราก็ได้ข้อมูลมาว่า ปกติแล้ว ราคาตะไคร้ ถ้าขายส่งในช่วงฤดูกาลปกติราคาขายประมาณ 8-10 บาท ต่อกิโลกรัม ขึ้นลงตามปริมาณและความต้องการของตะไคร้ แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้ง เดือนเมษายน ราคาก็จะสูงขึ้น ถึง 20 บาทต่อกิโลกรัม เลยทีเดียว ช่องทางการขายตะไคร้ เช่น ขายส่งให้พ่อค้าคนกลาง ขายปลีก ส่ง เองที่ตลาด ขายส่งโรงงานอุตสาหกรรม ร้านอาหารต่างๆ ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ

การสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตตะไคร้

ตะไคร้ปลอดสารด้วยขั้นตอนการปลูก จากปกติอาจจะใช้ปุ๋ยเคมีมาช่วยในเรื่องการเพิ่มผลผลิต ถ้าสามารถปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ รวมถึงขั้นตอนการดูแลต่างๆ ตลอดจนพื้นที่การเพาะปลูกนั้น ถ้าทำให้ให้ปลอดการใช้เคมีต่างๆได้ พร้อมกับการนำเสนอต่อลูกค้า ทั้งลูกค้าที่รับมาขายต่อ หรือขายตะไคร้ปลีกเอง ก็จะสามารถทำราคาได้ดี เพราะแนวโน้วอาหารปลอดสาร อาหารเพื่อสุขภาพมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆ

เพิ่มมูลค่าตะไคร้ ด้วยแพ็คเกจจิ้ง


นอกจากจะมีการเพิ่มมูลค่าของตะไคร้ด้วยการปลูกโดยปลอดสารแล้ว กระบวนการบรรจุเพื่อจำหน่ายก็ต้องเป็นมิตรกับธรรมชาติ สะอาด ดูดีสวยงาม บรรจุภัณฑ์ต้องได้มาตรฐานปลอดสารด้วย แม้จะปลูกแบบปลอดสารได้แต่หากว่าบรรจุภัณฑ์ หรือขั้นตอนการขนส่งไม่ดี ก็อาจจะเกิดการปนเปื้อน หรือทำให้แลดูไม่น่าซื้อ ก็จะทำให้ขายได้ยาก ตลาดของเราก็จะแคบลงด้วย ดังนั้นแล้วถ้าแพ็คเกจจิ้งของเราดี ตลาดตะไคร้ของเราก็จะกว้างขึ้น ด้วยความแตกต่างที่ดีกว่า ทำให้เป็นแข็งของการจำหน่าย

วิธีการปลูกตะไคร้ให้หัวใหญ่ได้น้ำหนักดี

การปลูกตะไคร้ทำได้ง่ายๆโดย เริ่มจากการไถพรวนดินเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ทั่วไป จากนั้นก็ทำการยกร่อง ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 1 เมตร เมื่อเตรียมดินพร้อมแล้วให้นำต้นพันธุ์ตะไคร้ที่มีรากเดินสมบูรณ์ดีแล้วลงปลูก โดยใช้วิธีการปลูกแบบต้นเดี่ยว ระยะห่างระหว่างต้น 1 x 1 เมตร ทั้งนี้เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนปลูกด้วยก็ได้ ส่วนวิธีทำต้นพันธุ์ให้เกิดรากก่อนปลูกนั้น มีวิธีง่าย ๆ คือ นำหัวตะไคร้มาตัดใบออกให้หมดจากนั้นนำมามัดรวมกันเป็นฟ่อนขนาดพอขนย้ายสะดวก นำไปแช่น้ำความลึกแค่พอท่วมหัวตะไคร้ จากนั้นนำไปวางไว้ในที่ร่มรำไรประมาณ 5 -7 วัน ตะไคร้ก็จะแตกรากใหม่ออกมา

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตะไคร้หัวใหญ่ได้น้ำหนักนั้น ขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างต้นและระบบน้ำเป็นสำคัญ เพราะตะไคร้เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ดังนั้นพื้นที่ปลูกจะต้องเป็นพื้นที่ที่มีระบบน้ำชลประทานเข้าถึงหรือเป็นพื้นที่ที่มีน้ำกักเก็บไว้และสามารถดึงมาใช้รดตะไคร้ได้ทั้งปี สำหรับระบบน้ำ จะใช้วิธีการสูบจากบ่อน้ำปล่อยลงแปลงตะไคร้ให้เปียกชุ่ม ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้หากเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูง สามารถวางระบบน้ำหยดหรือระบบสปริงเกอร์ใน การให้น้ำด้วยก็ได้

การใส่ปุ๋ยตะไคร้ ส่วนในเรื่องปุ๋ยนั้นตะไคร้เป็นพืชที่ไม่ควรให้ปุ๋ยบ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้ตะไคร้แตกกอและเกิดแขนงยิบย่อยไม่เกิดหัว ดังนั้นการให้ปุ๋ยควรให้เพียง 2 ครั้งต่อ 1 รอบการปลูกก็พอ ควรใส่ปุ๋ยตะไคร้ประมาณ 2 รอบ โดยจะให้ในช่วงหลังจากปลูก 15 วัน – 1 เดือน และ รอบที่ 2 ห่างจากรอบแรก 1 เดือน สำหรับสูตรปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยยูเรีย ใช้ร่วมกับฮอร์โมนบำรุงต้น หลังจากนั้นไม่ต้องทำอะไรอีก คอยดูแลเรื่องน้ำอย่างเดียว ทั้งนี้หากเกษตรกรต้องการผลิตเป็นตะไคร้อินทรีย์ก็สามารถเลือกใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกแทนปุ๋ยเคมีได้ สำหรับเรื่องการใส่ปุ๋ยและขั้นตอนการปลูกนี้ ผู้ปลูกก็ต้องวางแผนมาก่อนแล้วว่าต้องการปลูกตะไตร้แบบไหน เพื่อง่ายต่อการทำการตลาด ดังที่บางกอกทูเดย์ได้นำเสนอในช่วงต้น เป้าหมายตลาดต้องชัดเจน

ผลผลิตตะไคร้ 1 ไร่ สามารถให้ผลผลิตได้สูงถึงประมาณ 4,000 กิโลกรัม โดยมีราคารับซื้อหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท (ตะไคร้ในฤดู) และหากเป็นตะไคร้นอกฤดูตั้งแต่เดือนมีนา-เมษายน ราคาจะเพิ่มเป็นประมาณ 2 เท่า หรือขึ้นอยู่กับการปลูก การหีบห่อ ตลอดจนการขายด้วยว่า เราจะขายส่งหน้าสวนตะไคร้ หรือขายปลีกส่งตามร้านอาหาร หรือโรงงาน ห้างสรรพสินค้า ขึ้นอยู่กับคุณภาพ หีบห่อ ถ้าเป็นตะไคร้ปลอดสาร หีบห่อหรือแพ็คเกจจิ้งดี ตะไคร้หัวใหญ่ ก็จะสามารถทำราคาได้ดี สามารถจำหน่ายได้กว้างและไกลขึ้นไปอีก ตรงนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของเกษตรกรแล้ว

ดูแน้วโน้ม ราคา ตะไคร้ และตลาด จากประโยชน์ที่เห็นนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ใช้ทำเป็นเครื่องดื่มได้ เช่น น้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี
ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ
สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้
ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น)
มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ
การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่นๆจะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นยังดี (ซึ่งทำให้ลดต้นทุนเรื่องการปลูกด้วย)
นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่างๆ ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี เลยเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุง
สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเป็นต้นหรือ นำมาประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ต้มยำ และอาหารไทยอื่นๆอีกมากมาย
สามารถใช้อุตสาหกรรมทั้งอาหารและสุขภาพได้ ทำให้แนวโน้วอนาคตน่าจะสดใส

ตะไคร้ จึงนับได้ว่าเป็นอีกพืชผักสมุนไพรไทยที่น่าสนใจ ซึ่งถ้าได้ศึกษาทดลองปลูกและทำอย่างมืออาชีพแล้ว ก็น่าจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก แน่นอนว่าทุกอาชีพ ทุกงาน ล้วนมีการการแข่งขัน ยิ่งในปัจจุบันแล้วมืออาชีพในแต่ละอาชีพเท่านั้นที่จะอยู่รอด ในเมื่อราคาข้าวตกต่ำเพราะปลูกข้าวมากเกินไป ก็ลองหันมาลดพื้นที่ทำนามาปลูกตะไคร้ เพื่อลดความความเสี่ยง เพิ่มโอกาส

ขอบคุณ แฟนเพจเกษตรกรก้าวหน้า ,ภาพจากอินเตอร์เน็ต

เรียบเรียงโดย BangkokToday.net